โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา…โรงไฟฟ้าใต้ดินหนึ่งเดียวของไทย
โรงไฟฟ้าแต่ละชนิดมีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ถ่านหินน้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง หรือ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง จะเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่มีกำลังผลิตสูงเป็นโรงไฟฟ้าที่ออกแบบมาสำหรับการเดินเครื่องเป็นระยะเวลานานๆเพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าแบบคงที่ เพื่อเป็นฐานไฟฟ้า (Base Load) โรงไฟฟ้าเหล่านี้จะมีข้อจำกัดที่ไม่เหมาะสมกับการเดินเครื่องในระยะเวลาสั้นๆ หรือ การเปลี่ยนแปลงการรับภาระ (Load) พลังงานไฟฟ้าบ่อยๆ
ส่วนโรงไฟฟ้าพลังน้ำโดยส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าขนาดกลางหรือขนาดเล็ก ที่ไม่มีข้อจำกัดในการเดินเครื่องสามารถเดินเครื่องเข้าสู่ระบบไฟฟ้าสะดวกและรวดเร็ว เหมาะกับการเดินเครื่องเพื่อเสริมระบบไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูง (Peak Load) เป็นตัวแปรที่ช่วยเสริมให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนาเป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ มีคุณลักษณะพิเศษออกไป กล่าวคือ การเดินเครื่องเพื่อผลิตไฟฟ้า (Generation) ซึ่งเหมือนกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั่วไป แต่มีลักษณะพิเศษกว่าก็คือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนไปเดินเครื่องเป็นมอเตอร์ปั๊ม (Moter/Pump) เมื่อได้รับกระแสไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้าจากภายนอกเข้ามา เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator/Turbine) จะเปลี่ยนเป็นมอเตอร์ปั๊มสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองขึ้นไปเก็บไว้ที่อ่างพักน้ำตอนบน (Upper Pond) เพื่อเก็บสำรองพลังงาน ไว้ใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้าเมื่อระบบไฟฟ้ามีความต้องการ
โรงไฟฟ้ากังหันลมลำตะคอง
การผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม
พลังงานลมเป็นพลังงานธรรมชาติที่สะอาดบริสุทธิ์ ใช้แล้วไม่มีวันหมดเช่นเดียวกับพลังงานแสงอาทิตย์จึงทำให้พลังงานลมได้รับความสนใจในการศึกษาและพัฒนาให้เกิดประโยชน์กว้างขวาง เช่น การสูบน้ำ การผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น
กฟผ.จึงดำเนินเนินโครงการติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ ขนาด 1.25 เมกะวัตต์ จำนวน 2 ชุด ติดตั้งแล้วเสร็จพร้อมจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 552 ทั้งนี้ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 145 ล้านบาท ถือได้ว่าเป็นกังหันลมขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ที่สามารถผลิตกระแฟฟ้าประมาณ 4.60 ล้านหน่วยต่อปี จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา ได้ประมาณ 4,800 ครัวเรือน สามารถทดแทนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ถึง 1.10 ล้านลิตรต่อปี และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนได้ประมาณปีละ 2,300 ตัน
(อ้างอิงจาก https://www.gotoknow.org/posts/375382)
コメント